ต้นกก
พืชวงศ์กก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cyperaceae; อังกฤษ: Sedge) เป็นไม้ล้มลุก มีประมาณ 4,000 ชนิดแพร่พันธุ์กระจายทั่วโลก ชอบที่ชื้นแฉะ ขึ้นในที่ระดับต่ำตามหนอง บึง ทางระบายคันคูน้ำและโคลนเลน ใน 46 ประเทศจัดพืชวงศ์กกเป็นวัชพืช มีหลายชนิดใช้เป็นอาหารเช่น Eleocharis toberosa และ Scirpus toberosus และหลายชนิดนำมาทำเครื่องจักสานได้อย่าง เสื่อ กระจาด กระเช้า หมวก เช่นกกชนิด Scirpus mucronatus, Lepironia mucronata, Carex brizoides เป็นต้น
กกมีรูปร่างลักษณะและนิเวศวิทยาเหมือนหญ้ามาก มีลักษณะที่แตกต่างจากหญ้าคือ กกมักมีลำต้นตัน และเป็นสามเหลี่ยมหรือสามมุม บางชนิดมีผนังกั้นแบ่งเป็นห้องๆ มีกาบใบอยู่ชิดกันมาก และที่สำคัญคือเกือบไม่มีลิ้นใบบางชนิดไม่มีเลย ลักษณะสำคัญอีกประการหนึ่งของกกคือ ดอกแต่ละดอกจะมีกาบช่อย่อยห่อหุ้มหรือรองรับเพียงอันเดียว กกมีไหลเลื้อยไปใต้ดินและจากไหลก็จะแตกเป็นลำต้นที่ตัน โผล่พ้นขึ้นมาเหนือดิน และเมื่อผ่าลำต้นดูตามขวาง จะมีลักษณะเป็นสามเหลี่ยมหรือสามมุมดังได้กล่าวมาแล้ว ลำต้นกกจะไม่แตกกิ่งเหมือนพืชชนิดอื่น ใบของกกเหมือนกับใบของหญ้า แต่จะเรียงตัวอัดกันแน่นเป็นสามมุมหรือสามตำแหน่งรอบโคนต้นและมีกาบห่อหุ้มลำต้นและไม่มีลิ้นใบ
ช่อดอกกกจะเกิดที่ปลายลำต้นเป็นหลายแบบ เช่น ช่อแยกแขนง, ช่อซี่ร่ม หรือ ช่อเชิงลด และมีดอกขนาดเล็กเป็นทั้งดอกที่สมบูรณ์และไม่สมบูรณ์เพศ โดยมีดอกรวมเรียกว่าช่อดอกย่อย ซึ่งประกอบด้วยดอกย่อยหนึ่งหรือหลายดอก แต่ละดอกมีริ้วประดับรองรับ ส่วนกลีบดอกนั้นไม่มีหรืออาจมีแต่เปลี่ยนรูปร่างไปเป็นเกล็ด หรือขนแข็งเล็กๆ ในดอกกกจะมีเกสรเพศผู้แยกกันอยู่ ส่วนเกสรเพศเมียจะมีก้านแยกเป็นสอง-สามแฉก หรือบางครั้งแยกเป็นสอง-สามเส้น และมีรังไข่อยู่เหนือกลีบดอก ภายในมีห้องเดียวและมีหนึ่งเมล็ด
พื้นที่ปลูก
พื้นที่ชุ่มน้ำ (อังกฤษ:Wetland) หมายถึงลักษณะทางภูมิประเทศที่มีรูปแบบเป็น พื้นที่ลุ่ม พื้นที่ราบลุ่ม พื้นที่ลุ่มชื้นแฉะ พื้นที่ฉ่ำน้ำ มีน้ำท่วม มีน้ำขัง พื้นที่พรุ พื้นที่แหล่งน้ำ ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น ทั้งที่มีน้ำขังหรือท่วมอยู่ถาวรและชั่วครั้งชั่วคราว ทั้งที่เป็นแหล่งน้ำนิ่งและน้ำทั้งที่เป็นน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม รวมไปถึงพื้นที่ชายฝั่งทะเล และพื้นที่ของทะเล ในบริเวณซึ่งเมื่อน้ำลดลงต่ำสุดมีความลึกของระดับน้ำไม่เกิน 6 เมตร
คุณประโยชน์
คุณประโยชน์ของพื้นที่ชุ่มน้ำ คือ การเป็นแหล่งน้ำ แหล่งเก็บกักน้ำฝนและน้ำท่า เป็นแหล่งทรัพยากรและผลผลิตธรรมชาติ ที่มนุษย์สามารถเข้าไปเก็บเกี่ยวใช้ประโยชน์ได้ และมีความสำคัญต่อการคมนาคมในท้องถิ่น รวมถึงการเป็นแหล่งรวมสายพันธุ์พืชและสัตว์ อันมีความสำคัญทางนิเวศวิทยา และการอนุรักษ์ธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นแหล่งของผู้ผลิตที่สำคัญในห่วงโซ่อาหาร นอกจากนี้บางแห่งยังมีความสำคัญด้านนันทนาการและการท่องเที่ยว ประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น และเป็นแหล่งศึกษาวิจัยทางธรรมชาติวิทยา อีกด้วย
หน้าที่
โดยการอุ้มซับพลังอันรุนแรงของลมและคลื่น พื้นที่ชุ่มน้ำคือตัวปกป้องแผ่นดินที่เชื่อมต่อจากพายุ น้ำท่วมและความเสียหายจากการกระแทกของคลื่น ต้นไม้ในพื้นที่ชุ่มน้ำช่วยกรองมลพิษและสิ่งสกปรกที่มากับน้ำ ที่ลุ่มชื้นแฉะน้ำจืดส่วนใหญ่จะอยู่ในบริเวณที่ราบน้ำท่วมของแม่น้ำ พื้นที่ชุ่มน้ำที่อยู่ระหว่างบริเวณน้ำขึ้นน้ำลงเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดที่แสดงให้เห็นการแพร่กระจาย (invasion) การปรับตัว (modification) และการทดแทน (succession) ของพืชพรรณในพื้นที่ กระบวนการแพร่กระจายและการทดแทนได้แก่การเจริญงอกงามของหญ้าทะเล พืชเหล่านี้ช่วยดักตะกอนและเพิ่มอัตราการตกตะกอน ตะกอนที่ถูกจับไว้จะเพิ่มกลายเป็นที่เลนราบ สิ่งมีชีวิตในเลนเริ่มตั้งตัวและกระตุ้นให้เกิดสิ่งมีชีวิตรูปแบบอื่นมากขึ้นทำให้องค์ประกอบอินทรย์ของดิน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น